เกี่ยวกับการแก้ความคิดที่ผิดพลาดภายในพรรค (ธันวาคม
๑๙๒๙)
หมายเหตุ:
เรื่องนี้เป็นมติซึ่งสหายเหมาเจ๋อตุงเขียนขึ้นสำหรับสมัชชาผู้แทนพรรคในกองทัพที่ ๔
แห่งกองทัพแดงครั้งที่ ๙.
การสร้างกองทหารของประชาชนจีนนั้นได้ผ่านวิถีทางอันลำบากยากเข็ญ.กองทัพแดงของจีน
(ในสมัยสงครามต่อต้านญี่ปุ่นคือกองทัพลู่ที่ ๘ และกองทัพที่ ๔ ใหม่
ปัจจุบันคือกองทัพปลดแอกประชาชน) นับแต่ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นในสมัยลุกขึ้นสู้ที่หนานชาง*
เมื่อวันที่ ๑ สิงหา คม ๑๙๒๗
จนถึงเดือนธันวาคม ๑๙๒๙ ก็เป็นเวลา ๒ ปีเศษแล้ว. ในระยะเวลาดังกล่าวนี้พรรคคอม มิวนิสต์ในกองทัพแดง
ได้ต่อสู้กับความคิดที่ผิดนานาชนิด ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
เป็นอันมากและได้สะสมความจัดเจนไว้อุดมสมบูรณ์พอดู. มติที่สหายเหมาเจ๋อตุงเขียนขึ้นนี้ก็คือข้อสรุปของความจัดเจนเหล่านี้นั่นเอง.
มตินี้ยังผลให้กองทัพแดงตั้งอยู่บนพื้นฐานลัทธิมาร์กซ-เลนินโดยสมบูรณ์
และขจัดผลสะเทือนทั้งปวงของกอทัพแบบเก่าจนหมดไป. มตินี้ไม่เพียงแต่นำไปปฏิบัติในกองทัพที่ ๔
แห่งกองทัพแดงเท่านั้น ต่อมากองทัพแดงหน่วยอื่น
ๆ ก็ได้ ปฏิบัติตามนี้ด้วยก่อนบ้างหลังบ้าง เช่นนี้
จึงทำให้กองทัพแดงของจีนทั้งกองทัพเป็นกองทัพของประชาชนที่แท้จริงโดยสมบูรณ์.
ในระยะ ๒๐ กว่าปีมานี้ งานด้านพรรคและงานด้านการเมืองในกองทหารของประชาชนจีน
ได้ขยายตัวออกไปและมีการคิดประดิษฐ์ใหม่ ๆ อย่างกว้างขวาง
โฉมหน้าในปัจจุบันกับในอดีตแตกต่างกันมากทีเดียว,
แต่แนวทางพื้นฐานยงคงเป็นแนวทางแห่งมตินี้อยู่.
«««
เกี่ยวกับการแก้ความคิดที่ผิดพลาดภายในพรรค
ภายในองค์การจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์ในกองทัพที่
๔ แห่งกองทัพแดงมีความคิดนานาชนิดที่มิใช่ความคิดชนชั้นกรรมาชีพอยู่
ทั้งนี้เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงในการปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้องของพรรค.
ถ้าไม่แก้ให้ถึงที่สุดแล้ว กองทัพที่ ๔
แห่งกองทัพแดงก็จะแบกรับภาระหน้าที่ที่การต่อสู้ปฏิวัติอันยิ่ง ใหญ่ของจีนได้มอบให้นั้นไม่ได้อย่างแน่นอน.
บ่อเกิดของความคิดที่ไม่ถูกต้องต่าง ๆ ในองค์การจัดตั้งของพรรคในกองทัพที่ ๔ นั้น
ย่อมเนื่องมาจากพื้นฐานการจัดตั้งของพรรค
ส่วนใหญ่ที่สุดประกอบด้วยบุคคลที่ถือกำเนิดจากชาวนาและชนชั้นนายทุนน้อยอื่น ๆ
แต่การที่องค์การนำของพรรคมิได้ต่อสู้กับความคิดที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้อย่างเด็ดเดี่ยวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
และมิได้ให้การศึกษาในแนวทางที่ถูกต้องแก่สมาชิกพรรคนั้น
ก็เป็นเหตุอันสำคัญที่ทำให้ความคิดที่ไม่ถูกต้องเหล่านี้มีอยู่และขยายตัวไป.
อาศัยเจตนารมณ์ในจดหมายของศูนย์กลางฉบับเดือนกันยายน สมัชชานี้ได้ชี้ให้เห็นถึงการแสดงออกและบ่อเกิดความคิดนานาชนิดที่มิใช่ความคิดชนชั้นกรรมาชีพภายในองค์การจัดตั้งของพรรคในกองทัพที่
๔
ตลอดตนวิธีแก้ความคิดเหล่านี้และเรียกร้องให้สหายทั้งหลายขจัดความคิดเหล่านี้ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง.
เกี่ยวกับทรรศนะเอาแต่การทหาร
ทรรศนะเอาแต่การทหารได้ขยายออกไปมากเหลือเกินในหมู่สหายส่วนหนึ่งในกองทัพแดง
โดยแสดงออกดังนี้ เช่น:
(๑) ถือว่าการทหารกับการเมืองสองสิ่งนี้ขัดกัน
ไม่ยอมรับว่าการทหารเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งในการบรรลุภาระหน้าที่ทางการเมือง.
ที่บางคนถึงกับกล่าวว่า “ถ้าการทหารดี, การเมืองย่อมจะดีด้วย ถ้าการทหารไม่ดี
การเมืองก็จะดีไปไม่ได้” นั้น ก็ยิ่งถือว่าการทหารนำการเมืองเลยทีเดียว.
(๒) คิดว่าภาระหน้าที่ของกองทัพแดง
ก็คล้ายกับของกองทหารขาว คือเอาแต่รบอย่างเดียวเท่านั้น.
ไม่รู้ว่ากองทัพแดงของจีนเป็นกลุ่มกำลังอาวุธที่ปฏิวัติ. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน
กองทัพแดงมิใช่เอาแต่รบถ่ายเดียวอย่างเด็ดขาด
นอกจากรบเพื่อทำลายกำลังทางการทหารของข้าศึกแล้วกองทัพนี้ยังต้องแบกรับภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งหลายประการ
เป็นต้นว่า โฆษณาต่อมวลชน, จัดตั้งมวลชน ติดอาวุธให้แก่มวลชน
ช่วยมวลชนก่อตั้งอำนาจรัฐปฏิวัติ ตลอดจนก่อตั้งองค์การจัดตั้งของพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นด้วย.
การรบของกองทัพแดงมิใช่รบเพื่อรบอย่างเดียว, หากแต่รบเพื่อโฆษณาต่อมวลชน
จัดตั้งมวลชน ติดอาวุธให้แก่มวลชน และช่วยมวลชนสร้างอำนาจรัฐปฏิวัติ
ถ้าหากปราศจากเป้าหมายในการโฆษณาต่อมวลชน จัดตั้งมวลชน ติดอาวุธให้แก่มวลชน และช่วยมวลชนสร้างอำนาจรัฐปฏิวัติเหล่านี้แล้ว,
การรบก็หมดความหมาย การดำรงอยู่ของกองทัพแดงก็หมดความหมายด้วย.
(๓) ดังนั้น ในด้านการจัดตั้ง
จึงเอาองค์การปฏิบัติงานด้านการเมืองของกองทัพแดงไปขึ้นต่อองค์การปฏิบัติงานด้านการทหาร
และเสนอคำขวัญ “เรืองภายนอกเป็นธุระของกองบัญชาการ”,
ถ้าความคิดชนิดนี้ขยายตัวต่อไปแล้วก็มีอันตรายที่จะก้าวไปสู่การห่างเหินจากมวลชนใช้กองทัพควบคุมอำนาจรัฐ
และผละจากการนำของชนชั้นกรรมาชีพ, อันเป็นทางแห่งลัทธิขุนศึก
เหมือนดั่งที่กองทัพก๊กมิ่นตั๋งได้เดินมาแล้ว.
(๔) ขณะเดียวกันในด้านงานโฆษณา ก็มองข้ามความสำคัญของกองโฆษณา.
และในด้านการจัดตั้งมวลชนก็มองข้ามการจัดตั้งคณะกรรมการพลทหารในกองทัพและการจัดตั้งมวลชนกรรมกรชาวนาในท้องถิ่น.
ผลสุดท้าย ทั้งงานโฆษณาและงานจัดตั้งก็อยู่ในภาวะที่ถูกล้มเลิกไป.
(๕) รบชนะก็หยิ่ง รบแพ้ก็ท้อ.
(๖) ถือลัทธิหน่วยงานส่วนตน ทุกสิ่งทุกอย่างคำนึงแต่กองทัพที่
๔
ไม่รู้ว่าการติดอาวุธให้แก่มวลชนในท้องถิ่นเป็นภาระหน้าที่สำคัญประการหนึ่งของกองทัพแดง.
นี่เป็นลัทธิคณะย่อยที่ขยายแล้วชนิดหนึ่ง.
(๗)
มีสหายจำนวนน้อยส่วนหนึ่งจำกัดตัวเองอยู่แค่สิ่งแวดล้อมเฉพาะส่วนของกองทัพที่ ๔
คิดว่านอกจากกองทัพที่ ๔ แล้ว ก็ไม่มีกำลังปฏิวัติอื่นใดอีก. ด้วยเหตุนี้
ความคิดที่จะรักษากำลังไว้และหลีกเลี่ยงการต่อสู้จึงมีอยู่หนาแน่นมาก.
นี่คือเศษเดนลัทธิฉวยโอกาส.
(๘)
ไม่คำนึงถึงเงื่อนไขทางอัตวิสัยและภววิสัยเป็นโรคใจร้อนในการปฏิวัติ ไม่ยอมทนลำบากทำงานมวลชนเล็ก ๆ น้อย ๆ
และละเอียดรอบคอบคิดแต่จะทำเป็นการใหญ่และเต็มไปด้วยความเพ้อฝัน.
นี่คือเศษเดนลัทธิสุ่มเสี่ยง.
๑
บ่อเกิดของทรรศนะเอาแต่การทหารมีดังนี้:
(๑) ระดับการเมืองต่ำ.
ดังนั้นจึงไม่เข้าใจบทบาทของการนำทางการเมืองในกองทัพ ไม่เข้าใจว่ากองทัพแดงกับกองทัพขาวนั้นแตกต่างกันในขั้นมูลฐานทีเดียว.
(๒) ความคิดทหารรับจ้าง.
เนื่องจากในการรบแต่ละครั้งจับทหารเชลยได้เป็นจำนวนมาก
คนชนิดนี้เมื่อเข้าร่วมกองทัพแดงก็นำเอาความคิดทหารรับจ้างที่หนาแน่นเข้ามาด้วย
จึงทำให้ทรรศนะเอาแต่การทหารมีพื้นฐานจากชั้นล่าง.
(๓) เนื่องจากเหตุสองประการดังกล่าว
จึงได้เกิดเหตุประการที่ ๓ ขึ้น คือเชื่อกำลังทางการทหารมากเกินไป
แต่ไม่เชื่อกำลังมวลประชาชน.
(๔)
การที่พรรคไม่ได้สนใจและอภิปรายงานด้านการทหารอย่างเอาการเอางานนั้น
ก็เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทรรศนะเอาแต่การทหารขึ้นในหมู่สหายส่วนหนึ่ง.
วิธีแก้:
(๑)
ยกระดับการเมืองภายในพรรคด้วยการให้การศึกษา,ขจัดสมุฏฐานทางทฤษฎีของทรรศนะเอาแต่การทหารให้หมดสิ้นทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งถึงความแตกต่างขั้นมูลฐานระหว่างกองทัพกับกองทัพขาว.พร้อมกันนั้น
ยังจะต้องขจัดเศษเดนลัทธิฉวยโอกาสและเศษเดนลัทธิสุ่มเสี่ยงให้หมดสิ้นและทำลายลัทธิหน่วยงานส่วนตนในกองทัพที่
๔ ด้วย.
(๒)
เร่งให้การฝึกอบรมทางการเมืองแก่นายและพลทหาร,
โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเร่งให้การศึกษาทางการเมืองแก่ทหารที่มาจากเชลย.พร้อมกันนั้น
ก็ให้องค์การอำนาจรัฐท้องถิ่นคัดเลือกกรรมกรและชาวนาที่มีความจัดเจนในการต่อสู้
ส่งเข้ากองทัพแดงเท่าที่สามารถจะทำได้
เพื่อบั่นทอนหรือกระทั่งขจัดสมุฏฐานทรรศนะเอาแต่การทหารให้หมดสิ้นไปด้านการจัดตั้ง.
(๓)
ปลุกระดมพรรคในองค์การท้องถิ่นให้วิจารณ์พรรคในกองทัพแดงและปลุกระดมองค์การอำนาจรัฐของมวลชนให้วิจารณ์กองทัพแดง
เพื่อก่อผลสะเทือนแก่พรรคในกองทัพแดง และต่อนายและพลทหารของกองทัพแดง.
(๔)
พรรคต้องสนใจและอภิปรายงานด้านการทหารอย่างเอาการเอางาน,การงานทุกอย่างให้พรรคอภิปรายและลงมติก่อน
แล้วนำไปปฏิบัติโดยผ่านมวลชน.
(๕) วางกฎข้อบังคับกองทัพแดง
ระบุชัดซึ่งภาระหน้าที่ความสัมพันธ์ระหว่างระบบงานฝ่ายการทหารกับระบบงานฝ่ายการเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพแดงกับมวลประชาชนอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการพลทหาร,และความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการนี้กับกับองค์การทางทหารและทางการเมือง.
เกี่ยวกับประชาธิปไตยเฟ้อ
หลังจากกองทัพที่
๔ แห่งกองทัพแดงได้รับคำชี้แนะจากศูนย์กลางแล้ว
ปรากฏการณ์ที่เป็นประชาธิปไตยเฟ้อก็ลดน้อยลงไปมาก.เป็นต้นว่า
ปฏิบัติตามมติของพรรคได้ค่อนข้างดีแล้ว;ข้อคิดเห็นที่ผิดซึ่งเรียกร้องให้กองทัพแดงดำเนินสิ่งที่เรียกว่า
“ระบอบประชาธิปไตยรวมอำนาจจากชั้นล่างสู่ชั้นบน”“ให้ชั้นล่างอภิปรายก่อน แล้วจึงให้ชั้นบนลงมติ”
นั้น
ก็ไม่มีใครเสนอขึ้นอีกแล้ว.แต่ในทางความเป็นจริงแล้วการลดน้อยลงเช่นนี้เป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราวและผิวเผินเท่านั้น,
ยังมิใช่ว่าได้ขจัดความคิดประชาธิปไตยเฟ้อให้หมดสิ้นไปแล้ว. กล่าวคือ
รากเหง้าประชาธิปไตยเฟ้อยังคงฝังลึกอยู่ในความคิดของสหายจำนวนมาก เป็นต้นว่า
แสดงท่าทีฝืนใจต่าง ๆ นานาในการปฏิบัติตามมติของพรรค
ซึ่งก็เป็นหลักฐานยืนยันในข้อนี้อยู่แล้ว.
วิธีแก้:
(๑)
ให้ขุดรากประชาธิปไตยเฟ้อทิ้งเสียโดยทางทฤษฎี.ก่อนอื่น จะต้องชี้ให้เห็นว่า อันตรายของประชาธิปไตยเฟ้ออยู่ที่ก่อความเสียหายหรือกระทั่งทำลายองค์การจัดตั้งของพรรคจนหมดสิ้นบั่นทอนหรือกระทั่งทำลายสมรรถภาพสู้รบของพรรคโดยสิ้นเชิงทำให้พรรคไม่สามารถแบกรับหน้าที่การต่อสู้
เป็นเหตุให้การปฏิวัติพ่ายแพ้. ต่อมาต้องชี้ให้เห็นว่า บ่อเกิดประชาธิปไตยเฟ้อนั้น
อยู่ที่ความเสรีไม่มีระเบียบวินัยของชนชั้นนายทุนน้อย.เมื่อความเสรีไม่มีระเบียบวินัยนี้ถูกนำมาใช้ในพรรคก็จะกลายเป็นประชาธิปไตยเฟ้อทั้งทางการเมืองและทางการจัดตั้ง.ความคิดชนิดนี้เข้ากันกับภาระหน้าที่การต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพโดยสิ้นเชิง.
(๒) ในด้านการจัดตั้ง.
ให้เคร่งครัดในการดำเนินชีวิตประชาธิปไตยภายใต้การชี้นำที่รวมศูนย์ตามแนวทางดังนี้
คือ
๑. องค์การนำของพรรคต้องมีการชี้นำที่ถูกต้อง
เมื่อเกิดปัญหาขึ้นจะต้องมีวิธีแก้ เพื่อสร้างศูนย์กลางนำขึ้น.
๒.
องค์การชั้นบนต้องเข้าใจสภาพขององค์การชั้นล่างและสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของมวลชน
เพื่อเป็นพื้นฐานทางภววิสัยของการชี้นำทาการเมือง.
๓. ในการแก้ปัญหาองค์การชั้นต่าง ๆ
ของพรรคต้องไม่ทำอย่างลวก ๆ. เมื่อเป็นมติแล้ว ก็ต้องปฏิบัติอย่างเด็ดเดี่ยว.
๔. มติใด ๆ ที่สำคัญหน่อยขององค์การชั้นบน ต้องถ่ายทอดให้องค์การชั้นล่างและมวลสมาชิกพรรคทราบโดยด่วน.
วิธีก็คือ เรียกประชุมผู้เอาการเอางานหรือเรียกประชุมหน่วยพรรค
หรือกระทั่งเรียกประชุมสมาชิกพรรคทั้งหมดในขบวน1 นั้น ๆ (เมื่อสภาพแวดล้อมอำนวยให้)
และส่งคนไปรายงานในที่ประชุมด้วย.
๕. องค์การชั้นล่างของพรรคและมวลสมาชิกพรรคต้องอภิปรายคำชี้แนะขององค์การชั้นบนอย่างละเอียดถี่ถ้วน
เพื่อให้เข้าใจถึงความหมายของคำชี้แนะโดยตลอด และกำหนดวิธีการที่จะนำคำชี้แนะนั้น
ๆ ไปปฏิบัติด้วย.
เกี่ยวกับทรรศนะไร้การจัดตั้ง
ทรรศนะที่ไร้การจัดตั้งซึ่งมีอยู่ภายในองค์การจัดตั้งของพรรคในกองทัพที่
๔ นั้น แสดงออกดังนี้:
ก.
เสียงข้างน้อยไม่ปฏิบัติตามเสียงข้างมาก.เป็นต้นว่าเมื่อญัตติของคนส่วนข้างน้อยตกไปในที่ประชุมแล้ว
พวกเขาก็ไม่ปฏิบัติตามมติของพรรคอย่างจริงใจ.
วิธีแก้:
(๑)
เวลาประชุมต้องให้ผู้ร่วมประชุมแสดงความเห็นอย่างเต็มที่. เมื่อเกิดปัญหาโต้แย้งกันขึ้น
ก็ต้องทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งว่าอะไรถูกอะไรผิด
อย่าได้ประนีประนอมหรือทำอย่างขอไปที. เมื่อประ ชุมครั้งเดียวไม่สามารถแก้ตกไปได้
ก็ให้ประชุมหารือกันอีกครั้ง (โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องไม่ระทบกระ เทือนถึงงาน)
เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดแจ้ง.
(๒) ข้อหนึ่งในวินัยของพรรคคือ
ส่วนข้างน้อยปฏิบัติตามส่วนข้างมาก.เมื่อความเห็นของคนส่วนข้างน้อยถูกปฏิเสธไปแล้ว
คนส่วนข้างน้อยนั้นก็ต้องสนับสนุนมติที่ผ่านโดยคนส่วนข้างมาก.
นอกจากเมื่อมีความจำเป็นก็ให้เสนอเข้าสู่ที่ประชุมเพื่ออภิปรายในครั้งต่อไปแล้ว
จะแสดงการคัดค้านใด ๆ ในทางการกระทำไม่ได้.
ข. การวิจารณ์ที่ไร้การจัดตั้ง:
(๑)
การวิจารณ์ภายในพรรคเป็นอาวุธที่เสริมความเข้มแข็งให้แก่องค์การจัดตั้งของพรรคและเพิ่มพูนสมรรถภาพในการสู้รบของพรรค.แต่การวิจารณ์ในองค์การจัดตั้งของพรรคในกองทัพแดงนั้นบางครั้งไม่เป็นเช่นนี้กลับกลายเป็นการโจมตีบุคคลไปผลก็คือ
ไม่เพียงแต่ทำลายบุคคลเท่านั้น, หากยังทำลายองค์การจัดตั้งของพรรคอีกด้วย. ทั้งนี้เป็นการแสดงออกของลัทธิเอกชนชนชั้นนายทุนน้อย.
วิธีแก้ก็คือ,
ให้สมาชิกพรรคเข้าใจว่าจุดมุ่งหมายของการวิจารณ์นั้นอยู่ที่เพิ่มพูนสมรรถภาพสู้รบของพรรคเพื่อบรรลุชัยชนะในการต่อสู้ทางชนชั้นไม่ควรใช้การวิจารณ์เป็นเครื่องมือโจมตีบุคคล.
(๒) สมาชิกพรรคจำนวนมากไม่วิจารณ์ภายในพรรค,
แต่ไปวิจารณ์กันนอกพรรค.
ทั้งนี้เนื่องจากสมาชิกพรรคทั่วไปยังไม่เข้าใจความสำคัญขององค์การจัดตั้งของพรรค
(การประชุม ฯลฯ) คิดว่าการวิจารณ์ภายในองค์การจัดตั้งหรือนอกองค์การจัดตั้งไม่มีความแตกต่างอะไร.
วิธีแก้ก็คือ, ต้องให้การ ศึกษาแก่สมาชิกพรรค เพื่อให้เข้าใจถึงความสำคัญ
ขององค์การจัดตั้งของพรรค ถ้ามีอะไรจะวิจารณ์คณะกรรมการพรรคหรือสหาย
ก็ควรเสนอในที่ประชุมของพรรค.
เกี่ยวกับลัทธิเฉลี่ยสัมบูรณ์
มีอยู่ระยะหนึ่ง
ลัทธิเฉลี่ยสัมบูรณ์ในกองทัพแดงได้ขยายออกไปถึงขั้นร้ายแรงมาก. เป็นต้นว่า
การจ่ายค่าใช้จ่ายให้แก่ทหารบาดเจ็บก็คัดค้านการแยกแยะระหว่างรายที่บาดเจ็บเล็กน้อยกับรายที่บาดเจ็บสาหัส
เรียกร้องจะให้จ่ายเท่ากันหมด. การที่ยายทหารขี่ม้า ก็ไม่ถือว่าเป็นความจำเป็นในการงานแต่ถือว่าเป็นระบบไม่เสมอภาค.
การแบ่งปันสิ่งของก็เรียกร้องจะให้แบ่งปันเท่า ๆ กันอย่างเด็ดขาด
ไม่ยอมให้หน่วยที่มีกรณีพิเศษได้รับส่วนแบ่งปันมากกว่าหน่อย.
การแบกข้าวก็ไม่คำนึงว่าเป็นผู้ใหญ่หรือเด็ก คนแข็งแรงหรืออ่อนแอ
จะให้เฉลี่ยกันแบก.ที่พักก็จะให้แบ่งเท่ากันหมดกองบัญชาการอยู่บ้านหลังใหญ่กว่าหน่อยก็ด่าเอา.
การมอบหมายหน้าที่การบริการก็จะให้มอบเท่ากันหมด ให้ทำมากกว่ากันหน่อยเป็นไม่ยอม.
แม้กระทั่งในสภาพที่มีทหารบาดเจ็บสองคนแต่มีเปลหามเพียงเปลเดียว
ก็ยอมให้ทั้งสองคนไม่ได้ใช้เปลหามเสียดีกว่าจะให้คนเดียวได้ใช้.
เหล่านี้ล้วนแต่พิสูจน์ให้เห็นว่า
ลัทธิเฉลี่ยสัมบูรณ์ยังร้ายแรงมากในหมู่นายและพลทหารของกองทัพแดง.
บ่อเกิดของลัทธิเฉลี่ยสัมบูรณ์ก็เช่นเดียวกับประชาธิปไตยเฟ้อในทางการเมือง
คือเป็นผลผลิตของเศรษฐกิจหัตถกรรม และเศรษฐกิจชาวนาขนาดย่อมต่างกันแต่ว่าอย่างหนึ่งแสดงออกในด้านชีวิตทางการเมือง
ส่วนอีกอย่างแสดงออกในด้านชีวิตทางวัตถุเท่านั้นเอง.
วิธีแก้:
ควรชี้ให้เห็นว่า
ลัทธิเฉลี่ยสัมบูรณ์นั้นไม่เพียงแต่เป็นความเพ้อฝันอย่างหนึ่งของชาวนาและนายทุนน้อยในสมัยที่ทุนนิยมยังไม่ถูกทำลายไปเท่านั้น;แม้ในสมัยสังคมนิยม
การแบ่งปันวัตถุก็ต้องดำเนินไปตามหลักการที่ว่า “แต่ละคนทำงานเท่าที่สามารถ
รับผลตอบแทนตามงานที่ทำ”และตามความจำเป็นของงาน
ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเฉลี่ยสัมบูรณ์อย่างแน่นอน.การแบ่งปันวัตถุสิ่งของในหมู่พลพรรคของกองทัพแดงควรเฉลี่ยให้เท่ากันโดยส่วนใหญ่เป็นต้นว่า
ให้นายและพลทหารรับเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงเท่ากันเพราะว่าทั้งนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสภาพแวดล้อมของการต่อสู้ในปัจจุบัน.
แต่ต้องคัดค้านลัทธิเฉลี่ยสัมบูรณ์ที่ไม่คำนึงถึงเหตุผลใด ๆ ทั้งสิ้น
เพราะว่าไม่ไม่ใช่สิ่งจำเป็นสำหรับการต่อสู้ ตรงกันข้าม กลับจะเป็นอุปสรรคสำหรับการต่อสู้.
เกี่ยวกับลัทธิเอกชน
ความโน้มเอียงลัทธิเอกชนภายในองค์การจัดตั้งของพรรคในกองทัพแดงแสดงออกดังนี้:
(๑) ลัทธิแก้แค้น,
เมื่อถูกสหายพลทหารวิจารณ์ภายในพรรคแล้ว ก็หาโอกาสแก้แค้นเขานอกพรรค
การตบตีด่าว่าก็เป็นวิธีการแก้แค้นอย่างหนึ่ง. นอกจากนี้ยังหาทางแก้แค้นกันในพรรค;ในที่ประ ชุมคราวนี้แกว่าฉัน
ในที่ประชุมคราวหน้าฉันจะหาเรื่องแก้แค้นแก.ลัทธิแก้แค้นเช่นนี้เริ่มต้นจากทรรศนะเพื่อเอกชนทั้งสิ้นไม่นำพาต่อผลประโยชน์ของชนชั้นและผลประโยชน์ของพรรคทั้งพรรค.เป้าหมายของมันไม่ใช่ชนขั้นที่เป็นอริ
แต่กลับเป็นบุคคลอื่นๆ ในขบวนของเราเอง.นี่เป็นยากัดที่บั่นทอนองค์การ จัดตั้งและสมรรถภาพสีรบอย่างหนึ่ง.
(๒) ลัทธิคณะย่อย.
สนใจแต่ผลประโยชน์คณะย่อยของตนไม่สนใจผลประโยชน์ส่วนรวม ดูภาย นอกจะมิใช่เพื่อส่วนตัวแต่ในทางความเป็นจริงนั้นกอปรด้วยลัทธิเอกชนที่คับแคบที่สุดมีบทบากัดกร่อนและบทบาทเอาใจออกห่างอย่างใหญ่หลวงเช่นเดียวกัน.แต่ไหนแต่ไรมาความนิยมหมู่คณะย่อยนี้แพร่
หลายมากในกองทัพแดง เมื่อได้ผ่านการวิจารณ์กันมาแล้ว.บัดนี้ก็ค่อยเบาบางลง
แต่เศษเดนของมันยังมีอยู่ ยังต้องพยายามขจัดมันต่อไป.
(๓) ความคิดรับจ้าง. ไม่เข้าใจว่าพรรคและกองทัพแดงล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องมือสำหรับปฏิบัติภาระหน้าที่ปฏิวัติและตัวเองก็เป็นสมาชิกในนั้นคนหนึ่ง.ไม่เข้าใจว่าตนเองก็เป็นผู้กระทำการปฏิวัติคนหนึ่งคิดว่าตนรับผิดชอบต่อผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนตัวเท่านั้น
มิใช่รับผิดชอบต่อการปฏิวัติ.ความคิดรับ จ้างปฏิวัติอันเป็นโทษนี้ก็เป็นการแสดงออกอย่างหนึ่งของลัทธิเอกชน.
ความคิดรับจ้างปฏิวัตินี้เป็นเหตุให้ผู้เอาการเอางานที่เพียรพยายามทำงานอย่างปราศจากเงื่อนไขนั้นมีจำนวนไม่มากนัก. ถ้าไม่ขจัดความคิดรับจ้างนี้ให้หมดไป
ผู้เอาการเอางานก็ไม่อาจจะเพิ่มขึ้นได้ และภาระหนักของการปฏิวัติจะตกอยู่บนบ่าของคนส่วนน้อยตลอดไป
ซึ่งไม่เป็นผลดีแก่การต่อสู้อย่างยิ่ง.
(๔) ลัทธิเสพสุข. ในกองทัพแดง
ก็มีคนไม่น้อยที่มีลัทธิเอกชนมี่แสดงออกในทางเสพสุข.
พวกเขาหวังแต่จะให้กองทัพแดงยกเข้าไปในเมืองใหญ่ ๆ. การที่เขาต้องการจะไปเมืองใหญ่
ๆ นั้น มิใช่เพื่อไปทำงาน แต่เพื่อจะไปหาความสำราญ.
สิ่งที่พวกเขาไม่ชอบที่สุดก็คือทำงานในเขตแดงซึ่งชีวิตความเป็นอยู่ลำบากยากแค้น.
(๕) ความท้อแท้เฉื่อยงาน.
มีอะไรไม่ถูกใจเข้าหน่อยก็เกิดความท้อแท้และไม่ทำงาน.มูลเหตุที่สำคัญคือขาดการให้การศึกษาแต่บางครั้งก็เนื่องมาจากฝ่ายนำจัดการเรื่องต่าง
ๆ, มอบหมายการงาน หรือใช้วินัยไม่เหมาะสม.
(๖)
ความคิดที่อยากจะปลีกตัวจากกองทัพ.ผู้ที่ทำงานในกองทัพแดงขอย้ายจากกองทัพไปทำ งานในท้องถิ่นนั้นมีมากขึ้นทุกวัน.
มูลเหตุไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคลเสียทั้งหมด, หากยังอยู่ที่:๑. ชีวิตทางวัตถุในกองทัพแดงฝืดเคืองมาก, ๒. ต่อสู้มาเป็นเวลานานแล้วรู้สึกอิดโรย; ๓. ฝ่ายนำจัดการเรื่องต่าง ๆ
มอบหมายการงาน หรือใช้วินัยไม่เหมาะสม เป็นต้น.
วิธีแก้: ที่สำคัญคือเสริมการให้การศึกษาให้มาก
แก้ลัทธิเอกชนจากทางความคิด. อนึ่ง การจัดการเรื่องต่าง ๆ มอบหมายการงาน
หรือใช้วินัยก็ต้องทำให้เหมาะสม.
ทั้งยังต้องหาทางปรับปรุงชีวิตทางวัตถุในกองทัพแดงให้ดีขึ้น ใช้โอกาสทุกเมื่อเท่าที่จะหาได้ทำการพักผ่อนและจัดขบวนใหม่
เพื่อปรับ ปรุงเงื่อนไขทางวัตถุให้ดีขึ้น. บ่อเกิดทางสังคมของลัทธิเอกชนคือการสะท้อนเข้ามาในพรรคของความคิดชนชั้นนายทุนน้อยและชนชั้นนายทุน
เวลาให้การศึกษาต้องอธิบายข้อนี้ด้วย.
เกี่ยวกับความคิดเสือจร
เนื่องจากในกองทัพแดงมีพวกที่มาจากคนจรจัดอยู่เป็นจำนวนมาก
และเนื่องจากทั่วประเทศ โดย เฉพาะอย่างยิ่งตามมณฑลต่าง
ๆ ทางภาคใต้มีมวลชนคนจรจัดอันไพศาลอยู่, ดังนั้น จึงได้เกิดความ คิดทางการเมืองที่เป็นลัทธิเสือจรขึ้นในกองทัพแดง.
ความคิดชนิดนี้แสดงออกดังนี้:(๑) ไม่อยากทำ
งานที่ยากลำบากในการสร้างฐานที่มั่น ก่อตั้งอำนาจรัฐของมวลประชาชนและอาศัยสิ่งนี้ไปขยายผลสะเทือนทางการเมือง,
คิดแค่จะใช้วิธีการจรยุทธ์เคลื่อนที่ไปขยายผลสะเทือนทางการเมือง. (๒)
ในการขยายกองทัพแดง
ไม่ดำเนินแนวทางที่เริ่มต้นจากการขยายกองรักษาการณ์แดงท้องถิ่น กองทัพแดงท้องถิ่นไปสู่การขยายเป็นกำลังหลัก
แต่ดำเนินแนวทาง “รับสมัครไพร่แลซื้อม้า”“เกลี้ยกล่อมให้สวามิภักดิ์แลรับพวกกบฏ”.2 (๓)
ไม่มีความอดทนที่จะต่อสู้อย่างยากลำบากร่วมกับมวลชน หวังแต่จะเข้าเมืองใหญ่ ๆ
ไปกินไปดื่มให้อิ่มหนำสำราญ.
การแสดงออกของความคิดเสือจรทั้งหมดนี้เป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงที่กีดขวางมิให้กองทัพแดงปฏิบัติภาระหน้าที่อันถูกต้อง ด้วยเหตุนี้
การขจัดความคิดเสือจรให้หมดสิ้นไปนั้น
ก็เป็นจุดหมายสำคัญอย่างหนึ่งในการต่อสู้ทางความคิดภายในองค์การจัดตั้งของพรรคในกองทัพแดงโดยแท้.
ควรต้องเข้าใจไว้ว่า ลัทธิเสือจรแบบหวงเฉา๒หลีฉวง๓ในประวัติศาสตร์นั้น
เป็นเรื่องที่สภาพแวดล้อมในทุกวันนี้ไม่อำนวยให้เป็นไปได้อีกแล้ว.
วิธีแก้:
(๑) เร่งให้การศึกษา
วิจารณ์ความคิดที่ไม่ถูกต้อง ขจัดลัทธิเสือจรให้หมดสิ้น.
(๒) เร่งให้การศึกษา
ในทางคัดค้านจิตสำนึกนักเลงอันธพาลแก่ขบวนพื้นฐานของกองทัพแดงในปัจจุบันและทหารเชลยที่มาใหม่.
(๓)
พยายามดึงผู้เอาการเอางานในหมู่กรรมกรชาวนาที่มีความจัดเจนในการต่อสู้มาเข้าร่วมกองทัพแดง
เพื่อเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของกองทัพแดง.
(๔)
สร้างกองทหารหน่วยใหม่ของกองทัพแดงขึ้นจากมวลชนกรรมกรชาวนาที่ต่อสู้.
เกี่ยวกับเศษเดนลัทธิสุ่มเสี่ยง
ภายในองค์การจัดตั้งของพรรคในกองทัพแดงได้ดำเนินการต่อสู้กับลัทธิสุ่มเสี่ยงมาแล้ว
แต่ยังทำไม่เต็มที่. ด้วยเหตุนี้, ในกองทัพแดงจึงยังมีเศษเดนลัทธิสุ่มเสี่ยงตกค้างอยู่โดยแสดงออกดังนี้:(๑) ดำเนินการอย่างหลับหูหลับตาโดยคำนึงถึงเงื่อนไขทางอัตวิสัยและภววิสัย.
(๒) ดำเนินนโยบายในเมืองไม่เต็มที่และไม่เด็ดเดี่ยว. (๓) วินัยทหารหละหลวม
โดนเฉพาะอย่างยิ่งในยามรบแพ้. (๔) กองทหารบางหน่วยมีพฤติการณ์เผาบ้าน.(๕)
ระบอบยิงเป้าทหารหนีทัพและระบอบลงทัณฑ์ก็มีลักษณะลัทธิสุ่มเสี่ยงเหมือนกัน.
บ่อเกิดทางสังคมของลัทธิสุ่มเสี่ยงก็คือ การประมวลของความคิดชนชั้นกรรมาชีพจรจัดกับความคิดนายทุนน้อย.
วิธีแก้:
(๑)
ขจัดลัทธิสุ่มเสี่ยงให้หมดสิ้นโดยทางความคิด.
(๒)
แก้พฤติการณ์สุ่มเสี่ยงโดยทางระเบียบข้อบังคับและทางนโยบาย.
หมายเหตุ
๑. ในช่วงเวลาสั้น ๆ ภายหลังที่การปฏิวัติปี ๑๙๒๗
พ่ายแพ้ไปแล้ว ได้เกิดความโน้มเอียงลัทธิสุ่มเสี่ยงเอียง “ซ้าย”
ชนิดหนึ่งขึ้นภายในพรรคคอมมิวนิสต์
โดยเห็นว่าลักษณะการปฏิวัติของจีนเป็นอย่างที่เรียกกันว่า
“การปฏิวัติอย่างไม่ขาดสาย” สถานการณ์การปฏิวัติของจีนก็เป็นอย่างที่เรียกกันว่า
“ขึ้นสู่กระแสสูงอย่างไม่ขาดระยะ”ดังนั้นจึงไม่ยอมจัดการถอยอย่างมีระเบียบ
แต่ใช้วิธีการลัทธิคำสั่งอันเป็นวิธีการที่ผิด
โดยมุ่งหมายจะอาศัยสมาชิกพรรคและมวลชนจำนวนน้อยไปจัดตั้งการลุกขึ้นสู้ของท้องถิ่นในหลาย
ๆ แห่ง
ซึ่งไม่หวังจะได้รับชัยชนะเลยในทั่วประเทศ.พฤติการณ์ลัทธิสุ่มเสี่ยงนี้เคยแพร่หลายในปลายปี
๑๙๒๗ ครั้นถึงต้นปี ๑๙๒๘ ก็ค่อย ๆ สิ้นสุดลง.
แต่สมาชิกพรรคบางคนยังมีอารมณ์ความรู้สึกนี้เหลืออยู่.ลัทธิสุ่มเสี่ยงคือลัทธิเสี่ยงภัยนั่นเอง.
๒.
หวงเฉาเป็นหัวหน้าขบวนการลุกขึ้นสู้ของชาวนาในปลายสมัยราชวงศ์ถัง
เป็นชาวอำเภอยวนจีจังหวัดเฉาโจว (คืออำเภอเหอเจ๋อ มณฑลซานตงในปัจจุบัน – ผู้แปล) เมื่อปี ๘๗๕
หวงเฉาได้รวบรวมสมัครพรรคพวกเข้าสนับสนุนการลุกขึ้นสู้ที่นำโดยหวางเซียนจือ.
เมื่อหวางเซียนจือถูกฆ่าตาย, หวงเฉาก็รวบรวมรี้พลของหวางเซียนจือที่เหลืออยู่
ตั้งตัวเป็น “ขุนพลทะลวงฟ้า”. ขบวนลกขึ้นสู้ของหวงเฉานั้น
ได้เคยออกไปทำสงครามเคลื่อนที่นอกเขตซานตง ๒ ครั้ง.
ครั้งแรกจากซานตงไปเหอหนานแล้ววกเข้าอันฮุ่ยและหูเป่ย จากหูเป่ยกลับไปซานตงอีก.
ครั้งที่ ๒ จากซานตงไปเหอหนานอีก แล้ววกไปกัง ไส (เจียงซี)
ผ่านภาคตะวันออกจิเกี่ยงลงไปถึงฮกเกี้ยนและกวางตุ้ง
แล้วย้อนไปกวางสีผ่านหูหนานไปยังหูเป่ยจากหูเป่ยรุกไปทางตะวันออกเข้าอันฮุยและจิเกี่ยง แล้วจึงข้ามแม่น้ำหวายเหอเข้าเหอหนาน
ได้เมืองลกเอี้ยง ตีด่านถุงกวานแตกยึดเมืองฉางอานไว้ได้.
เมื่อหวงเฉาเข้าครองฉางอานได้แล้วก็สถาปนาอาณาจักรฉีขึ้นตั้งตัวเป็นจักรพรรดิ.
ต่อมาเนื่องจากแตกแยกกันขึ้นภายใน
(ขุนพลชื่อจูเวินได้สวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ถัง) ประกอบกับถูกกำลังของหลี่เต่อ ย่งหัวหน้าเผ่าซาถอโจมตีหวงเฉาจึงเสียเมืองฉางอาน
แล้วถอยเข้าเหอหนานอีก จากเหอหนานกลับ ไปซานตง,
ในที่สุดก็ประสบความพ่ายแพ้และฆ่าตัวตาย. สงครามหวงเฉาได้ดำเนินติดต่อกันถึง ๑๐ ปี
เป็นสงครามชาวนาที่ลือชื่อครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน.
ตำราประวัติศาสตร์ของชนชั้นปกครองสมัยเก่ากล่าวว่า เวลานั้น
“ราษฎรผู้เดือดร้อนด้วยถูกรีดส่วยอากรอย่างหนักต่างพากันสมัครเข้าเป็นพรรคพวก”
แต่หวงเฉาได้แต่ทำสงครามเร่ร่อนอย่างง่าย ๆ ไม่เคยได้สร้างฐานที่มั่นที่ค่อนข้างมั่นคงขึ้น
ดังนั้นจึงเรียกกันว่า “เสือจร”.
๓. หลี่ฉ่วง คือ หลี่จื้อเฉิง
เป็นหัวหน้าขบวนลุกขึ้นสู้ของชาวนาในปลายสมัยราชวงศ์เหม็ง
เป็นคนอำเภอหมี่จือมณฑลส่านซี. เมื่อปี ๑๖๒๘ ตรงกับฉุงเจิงศก ๑
ในรัชการพระเจ้าหมิงซื่อจง ชาวนาในภาคเหนือส่านซีได้ก่อกระแสลุกขึ้นสู้ขึ้น.
หลี่จื้อเฉิงได้สมัครเข้าร่วมขบวนลุกขึ้นสู้ของเกาหยิงเสียง
เคยบุกจากส่านซีเข้าเหอหนาน ถึงอันฮุย แล้ววกกลับไปยังส่านซีอีก.
เมื่อเกาหยิงเสียงตายในปี ๑๖๓๖ หลี่จื้อเฉิงได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าฉ่วงอ๋อง.
คำขวัญสำคัญของหลี่จื้อเฉิงที่ประกาศในหมู่มวลชนคือ “รับฉ่วงอ๋อง ไม่ส่งส่วย”.
วินัยที่เขาใช้บังคับในกองทัพนั้นเคยมีคำขวัญว่า “ฆ่าคนหนึ่งเหมือนฆ่าพ่อกู
ขืนใจหญิงหนึ่งเหมือนขืนใจแม่กู” ดังนั้นจึงมีผู้สนับสนุนหลี่จื้อเฉิงมากมาย
จนกลายเป็นกระแสหลักในการลุกขึ้นสู้ของชาวนาสมัยนั้น.
แต่หลีจื้อเฉิงไม่เคยสร้างฐานที่มั่นที่ค่อนข้างมั่นคงขึ้นเช่นกัน ได้แต่ร่อนเร่ไปมา. หลังจากได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าฉ่วงอ๋องแล้ว
ก็นำทัพเข้าเสฉวนแล้ววกกลับภาคใต้ส่านซี, ผ่านหูเป่ย
เข้าเหอหนานอีกต่อมายึดได้เมืองเซียงหยางมณฑลหูเป่ย, แล้วผ่านเหอหนานอีกครั้ง
บุกส่านซียึดซีอานได้ ในที่สุดได้ผ่านซานซี ตีเมืองปักกิ่งแตกในปี ๑๖๔๔.
แต่ต่อมาไม่นานต้องพ่ายแพ้ไปเพราะถูกหวูซานกุ้ย ขุนพลเอกราชวงศ์เหม็ง
กับกองทัพแมนจูซึ่งหวูซานกุ้ยสมคบชักนำมาร่วมตีกระหนาบ.
หมายเหตุผู้แปล
1. 1 ขบวน
คือหน่วยชนิดหนึ่งใน ระบบการจัดตั้งของกองทัพแดง (กองทัพลู่ที่ ๘, กองทัพที่ ๔
ใหม่และกองทัพปลดแอกในเวลาต่อมา) การจัดตั้งหน่วยชนิดนี้
ยืดหยุ่นกว่าของกองทัพประจำการมาก.
การจัดขบวนนี้แตกต่างกันไปตามกาลสมัยการปฏิวัติและตามสถานที่ที่แตกต่างกัน.
พอจะเทียบคร่าว ๆ ได้เท่ากับกรมหนึ่ง กองพลหนึ่ง
หรือกองทัพหนึ่งของกองทัพประจำการ. ในที่นี้ ขบวน ๆ หนึ่งของกองทัพที่ ๔
แห่งกองทัพแดงจะเทียบได้กับกรมทหารราบกรมหนึ่ง
2. 2 คำพังเพยนี้
เดิมหมายถึง
วิธีการที่พวกลุกขึ้นสู้บางกลุ่มในประวัติศาสตร์จีนใช้สำหรับขยายกองกำลังของตน.
วิธีการนี้มักสนใจแต่ ปริมาณ มองข้ามคุณภาพของกองทหาร
รับบุคคลทุกประเภทเข้ามาในกองทัพของตนโดยไม่เลือก.