Friday, November 18, 2016

ทฤษฎีของความรับรู้ 1.

ทฤษฎีของความรับรู้   

อย่างที่เราได้รู้กันแล้วว่า...  ปัญหาพื้นฐานของปรัชญาคือความสัมพันธ์ระหว่างความคิดและสรรพสิ่ง  อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่างจิตสำนึก(ความตระหนักรู้)และโลกภววิสัย?  ค้านท์ ได้ยืนยันว่า มันไม่มีสะพานเชื่อมระหว่างตัวความคิดและสิ่งที่ไม่อาจรู้ได้ด้วยตัวมันเอง     เฮเกลได้ตั้งคำถามที่ต่างออกไปกระบวนการของความคิดคือเอกภาพของภววิสัยและอัตวิสัย        ความคิดไม่ได้เป็นสิ่งขวางกั้นมนุษย์ออกจากโลกภววิสัย..แต่ในด้านตรงกันข้ามมันเป็นกระบวนการที่เชื่อมต่อ(“ประนีประนอม”)ของด้านทั้งสอง  เอาเป็นว่า..จากจุดเริ่มต้นของมัน..ความเป็นจริงจะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาทันที..ความคิดของมนุษย์ไม่ได้เป็นแค่ปฏิกิริยาตอบสนองอย่างที่ ล๊อค (John Locke) มีจินตภาพไว้..แต่กำลังทำงาน..กำ ลังแปลงข้อมูลนี้โดยแยกมันออกเป็นส่วนๆแล้วประกอบมันกลับอย่างเดิม   มนุษย์ใช้ความคิดอย่างเป็นเหตุผลเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นจริงโดยตรง    ความคิดแบบวิภาษวิธีจะวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น   แยกออกเป็นส่วนๆและทดสอบพิสูจน์รูปลักษณ์ที่ขัดแย้งเหล่านั้นและความโน้มเอียงที่จะนำไปสู่ความเป็นตัวตนและการเคลื่อนไหวของมัน

ความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ไม่ได้ประกอบด้วยบัญชีรายละเอียดของเรื่องราวต่างๆเท่านั้น   สมมุติว่าเรากล่าวถึง ”สัตว์” ก็ไม่ใช่แค่ที่มีอยู่ในวิชาสัตวศาสตร์   นอกจากและนอกเหนือความจริง.. มันมีความจำ เป็นที่จะค้นคว้ากฏเกณฑ์และกระบวนการทางภววิสัยของมัน       มีความจำเป็นที่จะต้องเผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ  และอธิบายถึงการเปลี่ยนผ่านจากสภาวะหนึ่งไปสู่สภาวะอื่นด้วย    ประ วัติความเป็นมาของวิทยาศาสตร์..ก็เช่นเดียวกับปรัชญา..เป็นกระบวนการที่ยืนยันและปฏิเสธมาเป็นเวลาช้านาน  เป็นกระบวนการที่ไม่จบสิ้นและมีการพัฒนา   ซึ่งความคิดหนึ่งๆจะคัดค้านความคิดอื่นๆ..   และในทางกลับกัน    คือการปฏิเสธกระบวนการที่ไม่มีวันจบซึ่งฝังลึกอยู่ในความรับรู้ของตนเองและจักรวาล  ปรากฏการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้กันเราอาจเห็นได้ในพัฒนาการทางจิตใจของทารก

เกียรติภูมิที่ยิ่งใหญ่ของเฮเกลได้แก่การแสดงให้เห็นถึงลักษณะวิภาษในพัฒนาการทางความคิดของมนุษย์..จากระยะเริ่มต้นของมันผ่านขั้นตอนไปสู่ระยะต่างๆ    และสุดท้ายก็เข้าสู่ขั้นสูงสุดของเหตุผล นั่นคือกระบวนการรับรู้     ในภาษาของผู้นิยมเฮเกล มันคือกระบวนการของสรรพสิ่งที่เริ่มจากใน “ตัวของมันเอง” และ ”เพื่อตัวมันเอง” เหมือนจะกล่าวว่า..จากสิ่งที่ยังไม่ได้พัฒนาไปสู่สิ่งที่ได้พัฒนาแล้ว    ตัวอ่อนของมนุษย์นั้นมีศักยภาพ     เป็นมนุษย์..แต่ไม่ใช่เป็นมนุษย์โดยตัวเองและเพื่อตัวเองโดยตระหนักถึงศักยภาพที่สูงสุดของมัน    ตลอดช่วงเวลาแห่งการพัฒนาซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็น    จากวัยทารก..ไปสู่  วัยรุ่นและ วัยกลางคน  เป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องพิจารณา     ความคิดของเด็ก..ไม่เป็นที่สงสัยเลยว่ายังไม่มีความสมบูรณ์เต็มที่        กระนั้นความคิดที่ไม่ถูกต้องที่เด็กแสดงออกมานั้นไม่ได้มีน้ำหนักเหมือนความคิดของผู้ที่มีอาวุโสกว่าซึ่งเคยผ่านประสบการณ์ชีวิตมา  ดังนั้นจึงมีความเข้าใจในความ หมายของสรรพสิ่งได้ลุ่มลึกกว่า

สำหรับเฮเกล..การพัฒนาที่แท้จริงของมนุษยชาติเป็นการแสดงออกถึงรูปแบบที่เร้นลับ..เช่นเดียวกันกับพัฒนาการของจิตวิญญาณ       ในความที่เป็นนักจิตนิยม..เฮเกลไม่ได้มีแนวคิดที่จริงจังต่อพัฒนาการของสังคม... แม้ว่าในงานเขียนที่ปราดเปรื่องของท่านจะมีวี่แววของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์อยู่บ้างก็ตาม ความคิดที่ปรากฏอยู่ในนั้นได้แสดงออกถึงความคิดที่สัมบูรณ์(หมายถึงความคิดที่สมบูรณ์แบบในตัวของมันเองโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศันสิ่งใดที่จะมาทำให้เกิดความสมบูรณ์ เช่น สิ่งที่เหนือมนุษย์ สิ่งศักดิ์สิทธ์ พระเจ้า เป็น ต้น),เป็นมโนทัศน์ที่มีความลี้ลับเพียงประการเดียวที่เราได้รับรู้,      อย่างที่เองเกลส์ได้เหน็บแนมว่า,มันไม่ได้บอกอะไรแก่เราอย่างสมบูรณ์      ในความเป็นจริง,ความคิดคือผลผลิตของสมองและระบบประสาทของมนุษย์ที่ไม่อาจแยกออกจากร่างกายได้   แปรเปลี่ยนไปตามสิ่งที่บริโภค ,ในทางกลับกันก็เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับสังคมและการผลิตด้วย

ความคิดเป็นผลิตผลจากวัตถุที่เราคิด เป็นความสัมฤทธิ์ผลอย่างสูงสุดของธรรมชาติ    วัตถุที่ไม่มีชีวิตนั้นยึดกุมศักยภาพในการแสดงออกของชีวิต     แม้แต่รูปแบบชีวิตชั้นต่ำที่สุดก็ยังมีความรู้สึก,ไวต่อสิ่งเร้า,มีศักยภาพในการแสดงออก   ในบรรดาสัตว์ชั้นสูงขึ้นไป,จะแสดงออกทางระบบประสาทและสมอง “จิตสำนึกโดยตัวเอง” ของเฮเกล เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นที่เป็นไปไม่ได้     โดยกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่แท้จริงแล้ว..มนุษย์ค่อยๆมีจิตสำนึกของตนต่อโลกที่พวกเขาอาศัยอยู่  สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆหรืออย่างอัตโนมัติ   ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์แต่ละคนจะได้มาซึ่งจิตสำนึกโดยอัตโนมัตก็โดยผ่านจากวัยเด็กไปสู่ผู้ใหญ่...ทั้งสองกรณี,กระบวนการที่เกิดขึ้น..บ่อยครั้งโดยผ่านระยะเวลาที่เจ็บปวดและยาวนาน   การพัฒนาความคิดของมนุษย์นั้นจะสะท้อนอยู่ในประวัติศาสตร์ของปรัชญา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมโดยทั่วไป,มันเผยให้เห็นถึงกระบวนการของความขัดแย้ง,.ที่ขั้นตอนหนึ่งเข้าไปแทนที่ขั้น  ตอนอื่นๆ และในทางกลับกันก็ถูกแทนที่ด้วยขั้นตอนที่ใหม่กว่าอีกเช่นกัน      การพัฒนาทางความคิดไม่ได้เป็นเส้นตรง   หากแต่จะต้องมีสิ่งอื่นๆมายับยั้งอยู่ตลอด..มีการขัดขวาง  ชะงักงัน  และแม้แต่การย้อนกลับ   ไม่ว่าอย่างไรมันก็เป็นพื้นฐานในการตระเตรียมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

1.ความคิดพัฒนาอย่างไร?
ความคิดของมนุษย์เริ่มแรกสุด   คือความสนใจสิ่งใกล้ตัวและเป็นช่วงระยะดั้งเดิม..เป็นความรู้สึกด้านสัม ผัสของมนุษย์ในยุคแรกๆ    โดยผ่านความรู้สึก..เริ่มที่จะซึมซับและจดจำข้อมูลโดยตรงภายใต้เงื่อนไขของสิ่งที่แวดล้อมของตนเอง..โดยไม่มีความเข้าใจต่อธรรมชาติอย่างแท้จริง ,ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความ สัมพันธ์ของเหตุและผลและกฎพื้นฐานของมัน    จากการสังเกตและประสบการณ์... มนุษย์ค่อยๆเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป,  เช่นจำนวน   จำนวนมากหรือน้อยที่มีลักษณะเป็นนามธรรม    กระบวนการเหล่านี้ พร้อมไปกับการใช้แรงงานและท่องไปในโลกเป็นเวลายาวนานนับล้านปี,     แม้จะมีการการดิ้นรนไขว่คว้าทั้งจากความคิดและวิทยาศาสตร์อย่างมากมายแล้ว,   ความคิดโดยปกติทั่วไปก็ยังอยู่ในระดับดั้งเดิมอยู่ เมื่อเราเริ่มพิจารณาวัตถุใดๆ, รูปแบบความคิดครั้งแรกจะไม่รวมถึงเนื้อหารูปธรรมทั้งหมดและรายละเอียดที่มีความเชื่อมต่อสัมพันธ์กันของมัน   หากแต่เป็นเพียงรูปร่างทั่วไปซึ่งเป็นสภภาวะนามธรรมล้วนๆ ดังนั้น..นักปรัชญาแถบทะเลไอโอเนียน(กรีซ)และแม้แต่พุทธศาสนาก็หยั่งรู้และเข้าใจจักรวาลโดยรวมว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างวิภาษ      แต่ความรับรู้เบื้องต้นนี้มีคำอธิบายอย่างเป็นรูปธรรมที่ไม่เพียงพอ    จึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการต่อไปด้วยการแสดงออกถึงภาพที่ชัดเจน,    ด้วยการวิเคราะห์และกำหนดความสัมพันธ์ที่แน่นอนในเนื้อหาของมัน, จะต้องแยกแยะและวัดหรือกำหนดทั้งในด้านปริมาณด้วย   ถ้าปราศจากสิ่งเหล่านี้..ย่อมเป็นไปไม่ได้ในทางวิทยาศาสตร์  นี่จึงเป็นความแตกต่างกันระหว่างความคิดที่หยาบง่าย   เร่งรัด  ไม่มีการพัฒนา  และไม่มีความเป็นวิทยาศาสตร์  
รุ่งอรุณทางด้านจิตสำนึกของมนุษยชาติ   ชายและหญิงไม่ได้แยกตัวเองออกจากธรรมชาติอย่างชัด   เจน  เช่นเดียวกับทารกแรกเกิดที่ยังไม่แยกตัวเองออกจากมารดา    จากระยะเวลาที่ยาวนานแบบค่อยเป็นค่อยไป...มนุษย์ได้ตระหนักถึงความแตกต่างจากการเรียนรู้โลกโดยการตรวจสอบสิ่งที่ตนยังงวยงงสงสัยในเครือข่ายของปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ห้อมล้อมตนเอง   เฝ้าสังเกต  เปรียบเทียบ   วางหลัก การ  และทำการสรุปด้วยวิธีเช่นนี้ในช่วงนับเป็นหลายพันปี   การวางหลักการสำคัญล้วนถูกสร้างขึ้นจากประสบการณ์ซึ่งค่อยๆตกผลึกเป็นรูปแบบของความคิดที่เรามีความคุ้นเคยกับมัน,ยอมรับมัน,
โดยปกติ,ทุกๆวันความคิดจะขึ้นอยู่กับความรู้สึก  ประสบการณ์  ลักษณะภายนอก  และการผสมผสาน ประสบการณ์และการคิดอย่างผิวเผินที่เรียกกันว่า ”ความรู้สึกแบบพื้นๆ”(common sense)  สิ่งเหล่านี้ เพียงพอสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวันโดยทั่วไป       แต่มันไม่เพียงพอสำหรับทำความเข้าใจในทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งในบางจุด..ใช้การไม่ได้และกลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์..แม้แต่เพื่อเป้าหมายทางการปฏิบัติ      มันมีความจำเป็นต้องไปให้ไกลกว่าประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากการสัมผัส   และเข้าใจต่อ กระบวนการทั่วไป,กฎและความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่   ซึ่งอยู่นอกเหนือจากภาพลวงตาที่ปรากฏอยู่ภาย นอก
ความคิดโดยปกติของมนุษย์มักจะเอนเอียงที่จะยึดติดกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือสิ่งที่คุ้นเคย     มันง่ายกว่าที่จะยอมรับในสิ่งที่ปรากฏอยู่และคุ้นเคยมากกว่าความคิดใหม่ๆซึ่งท้าทายต่ออะไรที่คุ้นเคยและประสบอยู่เป็นกิจวัตรเช่น    วิธีการที่เป็นปกติวิสัย  จารีต  ประเพณีและระเบียบแบบแผนทางสังคมที่เป็นตัวแทนอำนาจในสังคม   คล้ายๆกับแรงเฉื่อยในกลศาสตร์     ในเวลาปกติคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนใจที่จะตั้งคำถามต่อสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ในเรื่องของ  ศีลธรรม  อุดมการณ์  และรูปแบบของมัน   อคติทุกชนิด  ความคิดทางการเมือง    “วิทยาศาสตร์ แบบดั้งเดิมจะถูกยอมรับโดยไม่ต้องพินิจพิเคราะห์    จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในชีวิตที่ผลักดันให้พวกเขาลุกขึ้นมาตั้งคำถามว่า มันคืออะไรกัน
สังคมและการปรองดองกันทางความคิดคือรูปแบบของการหลอกลวงตนเองที่สามัญที่สุด   ความคิดที่คุ้นเคย(ไม่ว่าผิดหรือถูก)จะถูกดึงไปสู่ความถูกต้องเนื่องจากว่าพวกเขาคุ้นเคยกับมัน    ดังนั้นความรับรู้จึงเป็นเพียงสมบัติส่วนตัว   ทรัพย์สินและครอบครัวของชนชั้นนายทุนจึงเป็นนิรันดร์และเป็นสิ่งที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เป็นรูปแบบชีวิตที่ฝังลึกลงไปในจิตสำนึกโดยทั่วไป,แม้ว่ามันจะมีความสัมพันธ์น้อยมากกับความเป็นจริง     วิภาษวิธีจึงอยู่ตรงกันข้ามโดยตรงกับวิธีคิดที่ไม่มีความลุ่มลึกและแนวทางที่ซ้ำซากเช่นนี้     แน่นอนที่สุด..เนื่องจากมันท้าทายต่อความคิดที่คุ้นเคยเช่นนั้น..มันกระตุ้นอย่างรุนแรงและสม่ำ เสมอต่อสิ่งที่อยู่ตรงกันข้าม     มันมีความเป็นไปได้แค่ไหน ในการท้าทายกฏของความเป็นเอกลักษณ์  ที่ว่า เป็นสิ่งที่ดูเหมือนจะเข้าใจได้อย่างชัดเจนว่า “A” เท่ากับ “A” ?      นี่คือสิ่งที่เรียกว่าภาพสะท้อนของตรรกะที่เอนเอียงไปสู่แบบอย่างเป็นที่นิยมกัน.ว่าทุกๆอย่างเป็นอย่างที่มันเป็นและไม่ใช่อย่างอื่น ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง      ซึ่งตรงกันข้ามกับวิภาษวิธีที่เริ่มต้นจากมุมมองที่ตรงกันข้ามที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนแปลง,ด้วยการก้าวเข้ามาแล้วก็จากไป

นักคิดแบบประสบการณ์นิยมทั้งหลาย..ที่ยืนยันว่าสรรพสิ่งล้วน ”เป็นอย่างที่มันเป็น” จินตนาการไปเองว่าเหมาะสมและเป็นรูปธรรม...   แต่ในความเป็นจริงสรรพสิ่งไม่ได้ดำรงอยู่อย่างที่มันเป็นอยู่ตลอดเวลาและมีบ่อยครั้งมันแปรเปลี่ยนไปเป็นด้านตรงกันข้าม      ความรู้สึกรับรู้อย่างกระทันหันเป็นความรับรู้ขั้นต่ำสุดของความรับรู้,เหมือนความรับรู้ของทารก        ความเข้าใจที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงนั้นเรียกร้องให้เราทำการแยกแยะข้อมูลต่างๆที่ได้รับจากความรู้สึกสัมผัส     เพื่อให้เข้าถึงความจริงของธรรมชาติแห่งสรรพสิ่งภายใต้การพินิจพิจารณา     การวิเคราะห์ที่ลึกลงไปมักจะเผยให้เห็นแนวโน้มของความขัดแย้งที่ปรากฏขึ้นอยู่เสมอซึ่งเป็นสิ่งแฝงเร้นอยู่แม้แต่ในสิ่งที่เคลื่อนไหวไม่ได้    มีลักษณะที่ชัด เจนและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้..     ที่สุดมันจะนำไปสู่การแปรเปลี่ยนไปเป็นด้านตรงกันข้าม   และแน่ นอนความขัดแย้งเหล่านี้คือต้นตอของชีวิตทั้งมวลที่เคลื่อนไหวพัฒนาโดยผ่านธรรมชาติ     เพื่อความเข้าใจอย่างแท้จริง..  มีความจำเป็นที่จะต้องมองสรรพสิ่งไม่เพียงแค่อย่างที่มันเป็นเท่านั้น..หากแต่ต้องมองถึงความเป็นมาของมัน..และมองว่ามันจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไรด้วย

สำหรับเป้าประสงค์วันต่อวันนั้นตรรกะแบบแผนและ”สามัญสำนึก”ย่อมเป็นการเพียงพอ,แต่ไกลไปกว่านั้นมันมีความจำกัดที่จะประยุกต์ใช้ได้   ณ.จุดนี้วิภาษวิธีได้กลายเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างที่สุดไม่เหมือนตรรกะแบบที่ไม่เข้าใจถึงความขัดแย้ง อีกทั้งยังพยายามจะขจัดมันออกไปอีกด้วย      วิภาษวิธีได้แสดงให้เห็นถึงตรรกะแห่งความขัดแย้งซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของธรรมชาติและความคิด(thought)    โดยกระบวนการวิเคราะห์, วิภาษวิธีแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งเหล่านี้และบอกถึงวิธีว่าจะแก้ปัญหาอย่าง ไร?  อย่างไรก็ตามความขัดแย้งใหม่ๆมักจะปรากฏขึ้นเสมอ    ดังนั้นจึงก่อให้เกิดเกลียวของการพัฒนาที่ไม่รู้จักจบสิ้น    กระบวนการเช่นนี้สามารถเห็นได้จากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และปรัชญาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้ง     และนั่นไม่ใช่เรื่องบังเอิญมันได้สะท้องถึงธรรมชาติแห่งความรับรู้ของมนุษย์ที่เป็น กระบวนการที่ไม่มีขอบเขต...ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาให้จบสิ้นลงและในทันทีก็เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมาและก็กลับไปแก้ปัญหาใหม่อีกตลอดไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

ถ้าเราเริ่มต้นจากรูปแบบที่ต่ำที่สุดของความรับรู้   ในระดับของความรู้สึกจากประสบการณ์,ความจำกัดของตรรกะแบบแผน และ”สามัญสำนึก”  ในที่สุดก็จะมีความกระจ่าง   จิตใจจะจดบันทึกความจริงที่เราประสบอย่างปกติทั่วไป     เมื่อแรกเห็น..ความจริงจากความรู้สึกสัมผัส ดูเหมือนว่าธรรมดาและชัดแจ้งในตัวมันเอง    เราสามารถมีความเชื่อมั่นได้เมื่อทำการตรวจสอบอย่างใกล้ชิด, แต่บรรดาสรรพสิ่งนั้นย่อมไม่ธรรมดาเช่นนั้น....สิ่งที่ดูเหมือนจะมั่นคง...สิ่งที่ปรากฏรูปร่างมั่นคงและเชื่อถือได้  กลับไม่ได้เป็นไปเช่นนั้น    โลกเคลื่อนไหวไปใต้ฝ่าเท้าของเรา

ความรู้สึกที่แน่นอนเริ่มจาก “ที่นี่” และ “เดี๋ยวนี้”  เฮเกลกล่าวว่า...“ความรู้สึกที่แน่นอนเองนั้นควรจะถามว่าอะไรคือสิ่ง “นี้”?   ถ้าเราทำให้มันเป็นรูปพับสองด้านของการดำรงอยู่ของมันเช่น ”เดี๋ยวนี้” และ ”ที่นี่” วิภาษวิธีที่มีอยู่ในนั้นจะมีรูปแบบที่เข้าใจได้อย่างแจ่มชัดในตัวเองของ “สิ่งนี้” คำถามอยู่มีว่า “เดี๋ยวนี้” คืออะไร? เราตอบว่า..ตัวอย่างเช่น “เดี๋ยวนี้” คือ เวลากลางคืน   เพื่อพิสูจน์ความจริงของความแน่นอนของความรู้สึกนี้,ด้วยการทดลองแบบง่ายๆอย่างที่เราต้องการ...โดยการเขียนความจริงลงไป      ความจริงไม่ได้สูญเสียไปในขณะที่เขียน..ทีนี้เรามามองดู..มันเป็นเวลาเที่ยงวัน    ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่ามันได้เปลี่ยนไปและกลายเป็นสิ่งที่เก่าไปแล้ว” (Op. cit., p. 151.)


ความเห็นนี้ของเฮเกลทำให้หวนคิดถึงคำกล่าวที่ยากแก่การเข้าใจอันลือลั่นของเซโน(Zeno )ในเรื่องความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่  ตัวอย่างเช่น..ถ้าเราต้องการกำหนดตำแหน่งของลูกธนูที่กำลังเคลื่อนที่อยู่และถามว่าตอนนี้มันอยู่ตรงไหน   ในขณะที่เรากำลังชี้..มันได้ผ่านไปแล้ว   และคำว่า“เดี๋ยวนี” ก็ไม่ ใช่อะไรอีกต่อไปแต่มันเป็นบางอย่างที่ผ่านไปแล้ว   ดังนั้นสิ่งที่ปรากฏขึ้นจริงในครั้งแรกนั้นได้กลายไปเป็นสิ่งที่ผิดแผกไป     เหตุผลจะถูกพบในธรรมชาติของการเคลื่อนไหวที่ขัดแย้งกัน   ความขัดแย้งเป็นกระบวนการ..ไม่ใช่การรวมตัวของจุดที่แตกต่างกัน    สิ่งที่คล้ายคลึงกันเวลาประกอบไปด้วยจำนวน ”เดี๋ยวนี้” ทั้งหมดที่รวมกันอย่างไม่มีขอบเขต    ในทำนองเดียวกัน “ที่นี่” ก็ไม่ได้เป็น “ที่นี่”แต่โดดๆอีกต่อไป แต่มีก่อนและหลัง..บนและล่าง..ขวาและซ้าย  เหมือนนี่คือต้นไม้ ซึ่งในเวลาถัดไปนี่คือบ้าน หรือเป็นสิ่งอื่นๆไปแล้ว...จบตอน 1

No comments:

Post a Comment