2.ความคิดแบบวิภาษและความคิดแบบแผน
การใช้ประโยชน์จากวิภาษวิธีอย่างถูกต้องหมายถึงว่าผู้ใช้จะต้องใส่ใจอย่างเต็มที่ในการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับวัตถุ โดยการพิจารณาในทุกๆด้านของมันเพื่อที่จะเข้าใจถึงความขัดแย้งภายในและความสำ
คัญของกฎแห่งการเคลื่อนไหวที่ควบคุมการดำรงอยู่ของมัน ตัวอย่างที่ดีของวิธีการนี้จะพบได้จากหนังสือเรื่อง
“ทุน” ของมาร์กซทั้งสามเล่ม
มาร์กซไม่ได้สร้างกฎที่ควบคุมวิถีการผลิตแบบทุนนิยมขึ้นมาอย่างไร้เหตุผล แต่ได้สร้างขึ้นมาจากการวิเคราะห์แบบวิภาษวิธีด้วยความอุตสาหะวิริยะ
อย่างมีความระมัดระวังด้วยการวิเคราะห์ทุกแง่มุมของระบอบทุนนิยม ได้ติดตามร่องรอยทางประวัติศาสตร์การพัฒนาและกระบวนการทางการผลิตสินค้าตลอดทั้งระยะและขั้นตอนของมัน
ในสมุดบันทึกของเลนินที่ว่าด้วยปรัชญา, เต็มไปด้วยรายละเอียดในการศึกษาเรื่อง ”วิทยาศาสตร์แห่งตรรกศาสตร์”
ของเฮเกล เลนินได้ชี้ออกมาว่า เงื่อนไขแรกของความคิดแบบวิภาษคือ
“การพิจารณาของความคิดที่นอกเหนือตัวมันเอง(ตัวความคิดเองจะต้องพิจารณาในความสัมพันธ์และพัฒนาการของมัน)” หรืออีกทางหนึ่ง วิภาษวิธีเริ่มจาก ”ความสมบูรณ์แบบของการพิจารณาอย่างภววิสัย
(ไม่ใช่ตัว อย่าง ไม่ใช่การขยายความ แต่เป็นข้อเท็จจริงในตัวมันเอง)” (Lenin,
Collected Works, Vol. 38, p. 221.)
รูปแบบแรกและขั้นต่ำที่สุดของความคิดคือความรู้สึกด้านประสาทสัมผัส อย่างที่กล่าวว่า..เป็นการแจ้งข่าวสารแก่เราในชั่วขณะที่เรารู้สึกจากการมองเห็นและสัมผัส
ตามมาด้วยความเข้าใจ(Verstand/แฟร์-ชตานด์)
และเริ่มอธิบายว่ามันคืออะไร แต่ก็เป็นไปในลักษณะด้านเดียวซึ่งแยกออกจากความเป็นจริง กล่าวอย่างกว้างๆก็คือเป็นความเข้าใจที่เป็นเช่นเดียวกับตรรกะแบบแผน.(Formal Logic).เป็นความคิดแบบปกติธรรมดาและเป็น
“สามัญสำนึก” เราเห็นสิ่งที่ดำรงอยู่
และนั่นไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากเป็นตัวของมันเอง
ซึ่งไม่มีอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้
แต่ในความเป็นจริงมันมีเรื่องสำคัญมากกว่านั้นที่จะต้องกล่าวถึง ความเข้าใจที่ว่าสรรพสิ่งอยู่อย่างโดดเดี่ยว หยุดนิ่ง และไม่เปลี่ยนแปลงนั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะในความเป็นจริงมันไม่ได้เป็นเช่นนั้น
รูปแบบความคิดที่ก้าวหน้ากว่า
อย่างที่เฮเกล(และค้านท์) เรียกว่าความมีเหตุผล(Vernunft /เฟอร์นูฟท์) ความมีเหตุผลพยายามจะก้าวไปไกลกว่าความจริงในชั่วขณะที่เกิดขึ้นโดยการเรียนรู้..ด้วยการแยกมันออก รวมมันเข้า..
และเบื้องหลังรูปลักษณ์ภายนอกที่ปรากฏอยู่อย่างชัดเจนจะเผยให้เห็นแนวโน้มของความขัดแย้งภายใน,ซึ่งไม่ช้าก็เร็วจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เฮเกล
กล่าวว่า ” ในสมรภูมิของเหตุผล คือการดิ้นรนต่อสู้เพื่อทำลายความเข้าใจที่ตายตัวในทุกๆสิ่งให้น้อยลง” (Hegel, Logic, p. 53.)
หลักการแรกของความคิดแบบวิภาษคือเรื่องเกี่ยวกับวัตถุ ต้องเริ่มที่สสารวัตถุอย่างที่เป็นภววิสัย,และสุดท้ายจะต้องไม่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า เราต้องปรับตัวเราเองให้เข้ากับวัตถุสสาร..จนกว่าเราจะกุมมันได้ไม่ใช่เพียงแต่ความเป็นจริงทั่วไปภายนอก..แต่ต้องทำให้ได้ถึงความสัมพันธ์ภายในของมันและกฎที่ควบคุมมันด้วย กฎของวิภาษวิธี.ไม่เหมือนกับของตรรกะแบบแผน..
วิภาษวิธีไม่ได้สร้างกฎเกณฑ์ขึ้นมาตามอำเภอใจ.. สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับลักษณะภายนอกทั่วไปจนถึงเนื้อหาเฉพาะ(ภายใน)ของสิ่งอื่นๆได้ มันเกิดจากการเฝ้าสังเกตพัฒนาการของธรรมชาติ,สังคม,และความคิดของมนุษย์อย่างระมัดระวัง
รูปแบบปกติของความคิดได้แสดงออกโดยตรรกะแบบแผน สามารถนำไปใช้กับลักษณะภายนอกของ สสารวัตถุอื่นๆซึ่งเป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึก
อันที่จริง..ไม่ได้ตรงกับเนื้อหาสาระของสสารวัตถุเลย ตรรกะแบบแผน,ได้แสดงออกอย่างเป็นนามธรรมของ กฎแห่งความเป็นเอกลักษณ์ (A เท่ากับ A)
ดูเหมือนว่ามันจะเป็นความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ แท้จริงแล้ว..มันเป็นการใช้คำซ้ำๆที่มีแต่ความว่างเปล่า, เป็น ”ลัทธิรูปแบบ” ที่ไม่น่าสนใจ
หรืออย่างที่เฮเกลได้กล่าวไว้อย่างหลักแหลมว่า “วัวทั้งฝูงจะเป็นสีดำในเวลากลางคืน
ซึ่งก็คือความไร้เดียงสาของความรับรู้ที่ว่างเปล่า” (Hegel,Phenomenology, p.
79.)
สิ่งที่เรียกว่า
กฎแห่งความเป็นเอกลักษณ์
นั้นเป็นเพียงรูปแบบของนามธรรมซึ่งไม่มีสาระที่แท้จริง ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือพัฒนาได้ ไม่อาจนำไปประยุกต์ใช้กับพลังที่แท้จริงของจักรวาลที่ไม่เคยหยุดนิ่ง..ที่ทุกสิ่งมีการเปลี่ยนแปลง..เข้ามาสู่ตัวตนแล้วก็ผ่านพ้นไป และดังนั้นจึงไม่สามารถพิจารณาได้อย่างที่มันเป็น ในทางเดียวกัน,กฎของความขัดแย้งจึงใช้ไม่ได้..เพราะสรรพสิ่งที่แท้จริงนั้นเนื้อหาสาระของมันต้องมีทั้งด้านบวกและลบทั้ง “เป็น” และ “ไม่เป็น” เพราะว่ามันอยู่ในขั้นตอนที่แน่นอนของการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง มีเพียงสิ่งเดียวเท่านั้นที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลง..ก็คือความเปลี่ยน แปลงนั่นเอง
ความพยายามทั้งปวงที่จะจัดการกับสัจธรรมให้เป็นสิ่งที่มีลักษณะด้านเดียวและหยุดนิ่งคือการก้าวไปสู่ความล้มเหลว
อย่างที่เฮเกลได้กล่าวถึงมันอย่างคมคายว่า
สัจธรรมคือ “ความสำมะเลเทเมา”
การดำรงอยู่ของความขัดแย้งคือการสะท้อนออกของสัญชาติญาณที่ฝังอยู่ในจิตสำนึกทั่วไปในรูปแบบของสุภาษิตและคำพูด
ซึ่ง...เป็นบุคลิกภาพและความสำนึกที่ไม่ค่อยเป็นระบบ,บ่อยครั้งมักจะขัดแย้งกัน
ในวิทยาศาสตร์ก็เช่นเดียวกัน..เราพบเห็นความขัดแย้งในหลายๆระดับตัวอย่างเช่น
แรงดึงและแรงผลัก ขั้วเหนือ-ใต้ของแม่เหล็ก ขั้วบวก-ขั้วลบในไปฟ้า กิริยาและปฏิกิริยาในกลศาสตร์ การหดตัวและการขยายตัวเป็นต้น ฯลฯ เช่นเดียวกับการต่อสู้กับตรรกะแบบแผน,
วิภาษวิธีไม่ใช่สิ่งเสียหายในธรรม ชาติหากแต่ขั้นตอนของมันเกิดขึ้นจากความเป็นจริง วิภาษวิธีที่แท้จริงไม่ใช่เรื่องธรรมดา..ไม่ได้มีรูปร่าง เหมือนกับภาพที่ถูกล้อเลียนอย่างที่มันถูกวิจารณ์จากผู้ที่พยายามนำเสนอว่ามันเป็นจิตนิยมซึ่งเป็นการเล่นคำที่ไร้สาระ แท้จริงแล้วมันเป็นแค่วิภาษวิธีของลัทธิเหตุผลนิยม(ไม่ใช่วิภาษวิธีของลัทธิมาร์กซ),ซึ่งก็เหมือนกับตรรกะแบบแผน,ที่ประยุกต์ใช้กับแต่ลักษณะภายนอกไม่ใช่เพื่อนำไปสู่เนื้อหาสาระ...ด้วยความตั้งใจที่จะจัดการกับความขัดแย้งในวิธีคิดของจิตนิยม
วิภาษวิธีจึงไม่ใช่เรื่องที่จะตัดตัดตอนให้สั้นลงเหลือแค่เพียง”สามลักษณะ”
(บทตั้ง บทแย้ง บทสรุป) ที่ค้านท์นำไปใช้และเปลี่ยนให้เป็นสูตรที่ไร้ชีวิตชีวา วิภาษวิธีที่แท้ ได้มีความพยายามที่จะเผยให้เห็นถึงการวิเคราะห์ทางด้านภววิสัยที่ชัดเจน ถึงลักษณะตรรกะภายในและกฎการเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์
3.ตรรกะของเฮเกล
ตรรกะของเฮเกลเป็นหนึ่งในความคิดที่สุดยอดของมนุษยชาติ มันแสดงออกอย่างเป็นระบบและเป็นการพัฒนารูปแบบของความคิดทั้งมวล จากความคิดแบบเดิมที่ล้าหลังและไม่พัฒนาไปสู่รูปแบบสูงสุดของการให้เหตุผลแบบวิภาษที่เฮเกลเรียกมันว่า การสะท้อนความคิด (Notion) ท่านเริ่มด้วยข้อ เสนอทั่วไป-ที่เป็นไปได้ของ
“สิ่งบริสุทธิ์” บางอย่าง ที่ดูเหมือนว่าไม่ต้องพิสูจน์อะไรมาก จากความคิดนามธรรมสุดขั้วนี้ ท่านได้ดำเนินการไปทีละก้าว ทีละก้าว,ควบคู่ไปกับกระบวนการจากที่เป็นนาม จะจะธรรมไปสู่รูปธรรม
กระบวนการของการให้เหตุผลดำเนินไปอย่างมีขั้นตอน
ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นจะปฏิเสธขั้นตอนก่อนหน้านั้น ประวัติของความคิดโดยเฉพาะทางด้านปรัชญาและวิทยาศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่าความรับรู้นั้นได้มาอย่างแท้จริงด้วยวิธีนี้ เป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด, เราได้ความรู้ที่ชัดเจนเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการทำ งานของจักรวาล สำหรับเฮเกล..
แต่ละขั้นตอนก็ไม่สามารถพิสูจน์อะไรมากไปกว่าการปฏิเสธ ,และผลลัพธ์นั้นสูงขึ้น...มีค่ามากขึ้น และมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น เค้าโครงทั่วไปในตรรกะของเฮเกลสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนได้แก่
.คำสอนที่ว่าด้วยสิ่งที่มีอยู่(Being) คำสอนที่ว่าด้วยแก่นแท้ของธรรมชาติ (Essence)..และคำสอนที่ว่าด้วยการสะท้อนความคิด(Notion)
เฮเกลเริ่มต้นปรัชญาของท่านด้วยพื้นฐานของความคิดเกี่ยวกับขั้นตอนของสิ่งที่มีอยู่
ก่อนอื่นทั้งหมด .ทุกอย่างที่เราพิจารณานั้นมีอยู่อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งดูเหมือนกับพื้นฐานในความรับรู้ทั้งหมดของเรา
แต่เรื่องของสรรพสิ่งไม่ได้ง่ายเช่นนั้น. การกล่าวถึงเรื่องของการดำรงอยู่
โดยไม่มีรายละเอียดนั้นทำให้เราไม่สามารถไปต่อได้ เราต้องการรู้มากไปกว่านั้น,แต่ในขณะที่เราผ่านจากความคิดที่เป็นนามธรรมซึ่งมีลักษณะทั่วไปของสิ่งที่มีอยู่ไปสู่ความคิดที่เป็นรูปธรรม..
สิ่งที่ดำรงอยู่ได้แปรเปลี่ยนไปเป็นด้านตรงกันข้ามแล้ว
เฮเกลแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่มีอยู่ในลักษณะทั่วไปนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับความว่างเปล่า
ความคิดนี้เป็นเรื่องแปลก..แต่ความจริงแล้วสามารถเห็นได้ว่ามันเป็นความจริงในทุกๆระดับที่แตกต่างกัน..ถ้าเราพยายามจะขจัดความขัดแย้งออกจากสรรพสิ่ง..และยืนยันอยู่กับความคิดที่เพิ่งเกิดขึ้น เราจะถึงบทสรุปที่ตรงกันข้าม,เพราะว่ามันไม่อาจมี
สิ่งที่มีอยู่ โดยปราศจาก สิ่งที่ไม่มีอยู่, เหมือนเช่นว่า จะไม่มีชีวิตได้เลยหากปราศจากความตาย, และจะไม่มีความสว่างหากปราศจากความมืด
ใครที่ใช้ชีวิตอย่างยาวนานในทวีปอาร์คติคย่อมรู้ถึงผลของความสว่าง
ซึ่งก็เป็นเช่นเดียวกับกับความมืดในสาย
ตาของมนุษย์ ความจริงนามธรรมนั้นว่างเปล่าเนื่องจากมันขาดรูปธรรมโดยสิ้นเชิง ในความเป็นจริง ..เอกภาพวิภาษของสิ่งที่ดำรงอยู่และสิ่งที่ไม่ได้ดำรงอยู่
นั้นมีความความสมดุล อย่างที่ เฮราคลิตุส
หมายความถึงเมื่อเขากล่าวว่า..”ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็น และ ไม่เป็น,เพราะทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง” ทุกคนย่อมรู้จากประสบการณ์ว่า บ่อยครั้งที่สรรพสิ่งไม่ได้เป็นอย่างที่มันเป็น สรรพสิ่งที่ปรากฏอยู่นั้นดูไม่เปลี่ยนแปลง,ดังนั้นเราจึงกล่าวกันว่า ”มันเป็นเช่นนั้น”
แต่เมื่อได้ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนแล้วบางอย่างของมันมีการเปลี่ยนแปลง ,และนั่นมัน ”ไม่เป็น” อย่างเดิมแล้ว
นอกจากนั้น..ความขัดแย้งระหว่างสิ่งที่ดำรงอยู่และไม่ใช่สิ่งที่ดำรงอยู่
คือรากฐานของสรรพชีวิตและความเคลื่อนไหว
สำหรับเฮเกล..ขั้นตอนของ สิ่งที่มี นั้นหมายถึงช่วงเวลาของการเริ่มต้นที่ความคิดยังไม่ได้พัฒนา มันถูก มองว่าเป็นเพียงศักยภาพที่ซ่อนเร้นอยู่,เหมือนความคิดของเด็กๆ..หรือแบบอย่างของมนุษย์ยุคแรกๆมันเป็นเพียงตัวอ่อนของความคิด ตัวอ่อนนี้เริ่มจากเซลๆเดียวซึ่งไม่ได้มีรูปแบบของการพัฒนาที่ชัดเจนมันยังไม่ใช่ตัวตนที่ชัดเจนของมนุษยชาติ เพื่อที่จะพัฒนาไป,แรกสุดมันต้องปฏิเสธตัวมันเอง ภายในเซล..มันมีความโน้มเอียงไปสู่ความขัดแย้งที่ทำให้เกิดกระบวนการของความแตกต่างภายใน เมื่อแนว โน้มของการเป็นปรปักษ์มาถึงจุดหนึ่ง,เซลจะเกิดการแบ่งตัวเป็นสองส่วน
เซลต้นกำเนิดที่ไม่มีความแตกต่างจะไม่ดำรงอยู่ มันถูกยกเลิกและปฏิเสธ ในขณะเดียวกันมันก็ถูกรักษาไว้และดำเนินไปสู่ขั้นที่สูงกว่า กระบวนการนี้ถูกทำซ้ำๆกันอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดองคาพยพ
และมีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น ด้วยรูปร่างที่มีความแตกต่างกันมากขึ้นทำให้เกิดมนุษยชาติที่สมบูรณ์แบบขึ้นในที่สุด
มันอยู่ตรงจุดที่ว่า..ในชีวิตที่แท้จริง
ด้านที่ปฏิเสธของสรรพสิ่งนั้นย่อมมีความสำคัญเท่ากับด้านที่ไม่ปฏิเสธ
เรามักจะเคยชินกับการมองชีวิตและความตายเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน แต่ในความเป็นจริงมันคือสองด้านของกระบวนการที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ กระบวนการแห่งชีวิต,การเติบโตและการพัฒนา สามารถเกิดขึ้นได้โดยผ่านการสร้างเซลต่างๆของสิ่งมีชีวิตขึ้นใหม่เท่านั้น
บ้างก็ตายไป บ้างก็ดำรงอยู่ แม้ในระดับที่ต่ำสุด, ชีวิตจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงที่แน่นอนในสิ่งมีชีวิต.. ดูดซับอาหารจากสิ่งที่อยู่รอบตัวเพื่อใช้ในการสร้างชีวิตในขณะที่ของเสียถูกขจัดออกไป ดังนั้นสิ่งมีชีวิตทุกชนิด”เป็น”และ”ไม่เป็น”
ในเวลาเดียวกัน,เพราะทุกสิ่งนั้นอยู่ในสถานะที่เปลี่ยนแปลง
ถ้าไม่มีความขัดแย้งก็เท่ากับว่าไม่มีความแตกต่างภายใน จะไม่มีการเคลื่อนไหว, จะอยู่ในขั้นที่หยุดนิ่งที่เรียกว่า
“ความสมดุล” (equilibrium) แห่งร่างกาย นั่นคือ การตาย
นั่นเอง
จากคำพูดของ Prigogine และ Stengers ที่ว่า
“เซลที่มีชีวิตจะแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงแบบเมตาโบลิคอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนั้นก็มีปฏิกิริยาทางเคมีนับพันๆชนิดเกิดขึ้น เพื่อจะเปลี่ยนสภาพของสสารที่เซลหล่อเลี้ยงอยู่,ไปสู่การสังเคราะห์โมเลกุลขั้นพื้นฐานและขจัดของเสียออกไป เมื่อการพิจารณาถึงอัตราความแตกต่างด้าน ปฏิกิริยาของทั้งคู่
ปฏิกิริยาทางเคมีนั้นจะอยู่ในระดับเดียวกัน โครงสร้างทางชีวภาพนี้, รวมทั้งระเบียบและการเคลื่อนไหวจะเชื่อมประสานกัน ในด้านที่ตรงกันข้าม..ช่วงระยะแห่งความสมดุลยังดำเนินไปอย่างช้าๆแม้ในขณะที่มันกำลังก่อตัวขึ้น..เช่นเดียวกับกระบวนการตกผลึก
ครั้งแรกที่ปรากฏแก่สายตา,
ข้อสังเกตเหล่านี้ดูเหมือนว่าไม่มีอะไรในรายละเอียด แต่ในจุดที่เป็นจริง..มันเป็นการสะท้อนที่ลึกซึ้งมาก,ที่ไม่ใช่เพียงแต่จะปรับใช้กับความคิดเท่านั้น..หากยังปรับใช้ใน ธรรมชาติด้วย จริงๆแล้ว..เฮเกลได้พิจารณาว่าสองสิ่งนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้
เฮราคลีตุสกล่าวว่า..”ทุกสิ่งผ่านไปไม่มีอะไรอยู่กับที่... เราไม่สามารถเดินข้ามกระแสน้ำเดียวกันได้ถึงสองครั้ง” ในที่นี้เฮเกลก็กล่าวอย่างเดียวกัน หัวใจของปรัชญาชนิดนี้คือการมองจักรวาลว่าเป็นสิ่งที่เคลื่อนไหว,เป็นการมองด้วยความเข้าใจว่าสรรพสิ่งล้วนเป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง ไม่ใช่สิ่งตายตัว..และที่จะขาดเสียมิได้คือมันมีความสัมพันธ์ต่อกัน จะต้องไม่แยกออกจากกันหรือแยกแยะมันตามอำเภอใจ
โดยรวมแล้วมันมีขนาดใหญ่โตมากกว่าผลรวมของสิ่งต่างๆมาก จบตอน 2.
No comments:
Post a Comment